รู้ยัง!!! 5 สถานที่ ต่อภาษีรถยนต์ ทำง่ายไม่ต้องไปต่อคิวนานที่ขนส่ง!!!

อ่าน 15,258

ทุกคนที่เป็นเจ้าของรถคงเบื่อหน่ายกับการที่ต้องไปภาษีรถยนต์ด้วยตัวเอง เพราะต้องไปเข้าคิวยื่นเอกสารเสียเวลาเป็นวันๆ บางคนก็เลยเลือกที่จะผลัดวันไปก่อน ค่อยไปทำหาเวลาว่างก่อน ผลัดไปเลื่อยๆเจอด่านโดนปรับนะจ๊ะ ไม่ยอมต่อภาษีรถยนต์ เราสามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ล่วงหน้าไม่เกิน 3 เดือน  ซึ่งมีข้อดีตรงที่หากเรางานยุ่งมาก แต่หลายๆคนอาจไม่เคยทราบว่า เราไม่จำเป็นต้องเดินทางไปต่อภาษีรถด้วยตัวเอง

ที่สำนักงานขนส่ง จังหวัด/สาขา ที่สำคัญยังต่อได้ในวันเสาร์-อาทิตย์อีกด้วย

ภาพจาก  tnews

1.ห้างสรรพสินค้า โครงการ "ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax)"

**ต่อภาษีวันเสาร์-อาทิตย์ได้**

1.Big-C เวลาเปิด 09.00 ? 17.00 น.

สาขาลาดพร้าว, รามอินทรา, รัชดาภิเษก, บางปะกอก, เพชรเกษม, สุขาภิบาล3, อ่อนนุช, แจ้งวัฒนะ, สำโรง, บางบอน, สุวินทวงศ์, สมุทรปราการ, บางใหญ่และบางนา

2.เซ็นทรัล รามอินทรา เวลาเปิด 10.00 ? 17.00 น.

3.พาราไดซ์ พาร์ค ถนนศรีนครินทร์ เวลาเปิด 10.00 ? 17.00 น.

4.เซ็นทรัลเวิลด์ เวลาเปิด 11.00 ? 18.00 น.

5.ศูนย์บริการร่วมคมนาคม เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน เปิดวันจันทร์ ? วันศุกร์ เวลา 08.30 ? 15.00 น.

ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้

1.รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1)

2.รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2)

3.รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3)

4.รถจักรยานยนต์ (รย.12)

หลักฐานที่ใช้

1.ใบคู่มือจดทะเบียนรถหรือสำเนา

2.หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.

3.หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) เฉพาะรถเก๋ง รถตู้ รถปิคอัพ และรถสองแถวที่จดทะเบียนตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป และรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป

4.หนังสือรับรองการตรวจ และทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง รับชำระภาษีรถทั่วประเทศไม่ว่ารถนั้นจะจดทะเบียนไว้ที่จังหวัดใด

2.ที่ทำการไปรษณีย์

ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้

1.รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1)

2.รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2)

3.รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3)

4.รถจักรยานยนต์ (รย.12)

5.รถแทรกเตอร์ (รย.13)

6.รถบดถนน (รย.14)

7.รถพ่วง (รย.16)

หลักฐานที่ใช้

1.ใบคู่มือจดทะเบียนรถ (ถ้ามี)

2.หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.

3.ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้ว

ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป)

3.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้

1.รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1)

2.รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2)

3.รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3)

4.รถจักรยานยนต์ (รย.12)

หลักฐานที่ใช้

1.ใบคู่มือจดทะเบียนรถ

2.หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.

3.ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป)

เงื่อนไข

1.เป็นรถที่ไม่มีภาษีค้างชำระหรือมีภาษีค้างชำระไม่เกิน 1 ปี หรือมีภาษีค้างชำระเกิน 1 ปี ที่นายทะเบียนได้ประกาศยกเว้นการตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี

2.ยื่นขอเสียภาษีประจำปีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนวันครบกำหนดเสียภาษี เว้นแต่รถที่มีภาษีค้างชำระให้ยื่นได้ทันที

4.ทำต่อทะเบียนรถออนไลน์

1.เข้าเว็บไซค์ www.dlte-serv.in.th หรือ www.dlt.go.th

2.ลงทะเบียนเพื่อขอรับรหัสผ่าน

3. กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถ

4. เลือกต่อภาษี

*** สิ่งที่ต้องใช้กรอก: เลขที่ของ พรบ. ที่ไม่หมดอายุ *** (ถ้ารถเกิน 7 ปีต้องตรวจสภาพด้วย)

5. เลือกจ่ายตังได้เลย มันจะบวกค่าส่ง ems 40 บาท ช่องทาง

? หักผ่าน บช (มีแค่ 3 ธนาคาร)

? ตัดบัตรเครดิต (ชาท 2%)

? พิมพ์ใบแจ้งชำระภาษีรถแล้วนำไปชำระ ณ เคาน์เตอร์หรือตู้ ATM ของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ

? บริการชำระด้วยบัตรเครดิตออนไลน์ ได้แก่ ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงศรีอยุธยา * ที่เคาน์เตอร์ธนาคารบริการ ได้แก่ ธ.กรุงไทย , ธ.กรุงเทพ , ธ.นครหลวงไทย , ธ.ก.ส ,ธ.ไทยธนาคาร , ธ.กรุงศรีอยุธยา , ธ.ทหารไทย , บริษัทเคาน์เตอร์เซอร์วิส ชำระที่ตู้ ATM ได้แก่ ธ.กรุงไทย , ธ.นครหลวงไทย , ธ.กรุงเทพ , ธ.ทหารไทย

? กรมการขนส่งทางบก จะส่งใบเสร็จรับเงิน เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และ กรมธรรม์ พ.ร.บ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ให้ผู้ชำระเงินทางไปรษณีย์หลังจากนั้นรอไม่เกิน 7 วัน ป้ายภาษีของเราก็จะเดินทางมาถึงว้าวง่ายๆเลยจ้า เพิ่มเติมเราสามารถต่อล่วงหน้าได้ 3 เดือน

5.จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ

เวลาเปิดวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 7.30 ? 15.30 น.

ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้

1.รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1)

2.รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2)

3.รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3)

4.รถจักรยานยนต์ (รย.12)

เงื่อนไข

1.รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 7 ปี

2.รถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปี

3.ทางกรมการขนส่งทางบกจะทำการนำส่งใบเสร็จ และป้ายวงกลมทางไปรษณีย์ ตามที่อยู่ที่ท่านระบุภายใน 10 วันนับจากวันที่ชำระเงิน

4.ค่าบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส 20 บาท และค่าจัดส่งป้ายวงกลม 40 บาท

5.รถที่มียอดค้างชำระเกินกำหนด 3 ปี ชำระได้ที่กรมการขนส่งทางบกเท่านั้น


วาไรตี้

เครื่องสำอาง แม่และเด็ก คลินิก สุขภาพ สกินแคร์ แต่งหน้า ทรงผม ทำเล็บ แฟชั่น ความรัก ดูดวง วาไรตี้ ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย คติสอนใจ ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร ร้านคาเฟ่