เผยข้อแตกต่าง "ยาปฏิชีวนะ (ไม่ใช่) ยาแก้อักเสบ" ควรทานให้ถูกโรค !!!

อ่าน 8,605

แน่นอนว่ายา 2 ชนิดนี้มีความแตกต่างกัน และใช้รักษาอาการที่แตกต่างกัน ซึ่งไม่ควรทานยาในลัษณะที่ใช้แทนกัน เพราะคิดว่าก็แก้อักเสบเหมือนกัน ความคิดนี้ผิดนะคะ XXX หากทานยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ จะมีอาการข้างเคียงดื้นยา หรือมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆได้ เพราะฉะนั้นเรามาดูความแตกต่างของยา 2 ชนิดนี้กันค่ะ

ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัส และไม่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ แก้ปวด ลดไข้ ใช้รักษาเฉพาะโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น  เช่น เจ็บคอ ท้องเสีย ปัสสาวะแสบขัด แผลอักเสบ ทอนซิลอักเสบเป็นหนอง

ยาแก้อักเสบ หรือ ยาต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory drugs) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดไข้ บรรเทาปวด ลดบวมแดง กรณีกล้ามเนื้อ-เอ็นอักเสบจากการเล่นกีฬาหรืออุบัติเหตุ เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน  ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

ลักษณะการอักเสบ

- การอักเสบมี 2 แบบ คือ 1.อักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย  2.อักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

- การอักเสบส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่การอักเสบเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น โรคภูมิแพ้  คออักเสบจากเชื้อไวรัส  ผิวหนังอักเสบจากการแพ้แดดหรือสารเคมี กล้ามเนื้ออักเสบจากการยกของหนัก

อันตรายจากการใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ

แพ้ยา : หากแพ้ไม่มากอาจมีแค่ผื่นคัน ถ้ารุนแรงขึ้นผิวหนังจะเป็นรอยไหม้ หลุดลอก หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิต

เกิดเชื้อดื้อยา : การกินยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อกระตุ้นให้เชื้อแบคทีเรียกลายพันธุ์เป็นเชื้อดื้อยา ต้องเปลี่ยนไปใช้ยาปฏิชีวนะที่ใหม่ขึ้น แพงขึ้น ซึ่งเหลือให้ใช้อยู่ไม่กี่ชนิด สุดท้ายก็จะไม่มียารักษา และเสียชีวิตในที่สุด

เกิดโรคแทรกซ้อน : ยาปฏิชีวนะจะฆ่าทั้งแบคทีเรียก่อโรคและแบคทีเรียชนิดดีมีประโยชน์ในลำไส้ของเรา เมื่อแบคทีเรียชนิดดีตายไป เชื้ออื่นๆ ในตัวเราจึงฉวยโอกาสเติบโตมากขึ้น ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ลำไส้อักเสบอย่างรุนแรง โดยผนังลำไส้ที่ถูกทำลายหลุดลอกมากับอุจจาระ อันตรายถึงชีวิต


สุขภาพ

เครื่องสำอาง แม่และเด็ก คลินิก สุขภาพ สกินแคร์ แต่งหน้า ทรงผม ทำเล็บ แฟชั่น ความรัก ดูดวง วาไรตี้ ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย คติสอนใจ ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร ร้านคาเฟ่