หายสงสัย!! รวม 7 อาหาร ที่เคยกินมา "ทั้งชีวิต" เเต่ไม่รู้ที่มา...มันคืออะไร!!

อ่าน 2,517

หลายคนอาจจะสงสัยว่าเอ๊ะ! สิ่งที่เรากินๆอยู่ทุกวันทำไมชื่อเรียกมันไม่เห็นจะเข้ากับรูปลักษณ์ของตัวมันเองแต่เค้าเรียกมายังไง ทุกคนคนก็เรียกต่อๆไปแบบนั้นโดยที่เรียกแบบที่ก็ไม่รู้ว่าที่มาของสิ่งๆนั้นมันมาจากไหน ทำไมเค้าถึงเรียกแบบนี้ เช่น ซีอิ๋วขาว แต่ทำไมสีดำ เป็นต้น วันนี้เราเลยมีคำตอบรวม 5 อาหาร ที่เคยกินมา "ทั้งชีวิต" เเต่ไม่รู้ที่มา...มันคืออะไร !! ไปดูกัน?

ภาพจาก pixabay.com,cdn.pixabay.com

1. มะม่วงมีสีเขียวกับเหลือง แต่ทำไมถึงเรียกว่ามะม่วง

หนึ่งในข้อสันนิษฐานที่ชัดเจนที่สุด น่าจะมาจากการเลียนเสียงภาษามาลายู คำว่า Manga ว่า "หมากมางกา" โดยคนไทยสมัยก่อนเรียกผลไม้ที่มีคำนำว่าว่า "มะ" เป็นคำว่า "หมาก" หลังจากนั้นจึงเพี้ยนเสียงมาเรื่อยๆ จนมาเป็นมะม่วงจนถึงปัจจุบันนี้

ภาพจาก pixabay.com

2.ขนมจีน ไม่ใช่ขนม และก็ไม่ใช่ของประเทศจีน

ทำไมมันถึงกลายเป็นขนมจีนไปได้ ข้อสันนิษฐานที่ชัดเจนที่สุดคือ ขนมจีน น่าจะมาจากภาษามอญ โดยคนมอญเรียกขนมจีนว่า "คนอมจิน" เลยพูดผิดเพี้ยนกลายเป็นขนมจีน จนมาถึงปัจจุบัน

ภาพจาก www.flickr.com

3.ข้าวซอย ไม่ใช่ข้าว

มี 2 ข้อสันนิษฐานถึงที่มาของชื่อข้าวซอย ข้อแรกคือมาจากกรรมวิธีในการทำเส้น ด้วยการนำแป้งข้าวสาลี ไข่ เกลือ น้ำ มาผสมกันและนวดจนเข้ากันดี แล้วกดรีดให้เป็นแผ่น จากนั้นก็เอามีดมาซอยแผ่นแป้งให้เป็นเส้นๆ เหมือนเอาข้าว (แป้ง) มาซอยจนกลายเป็นข้าวซอย ส่วนอีกข้อคือข้าวซอยเป็นอาหารของชาวเมียนมาร์ที่เรียกว่า "เค่าซแว" และถูกเรียกเพี้ยนกันมาจนเป็น "ข้าวซอย" ในที่สุด

ภาพจาก pixabay.com

4.ส้มตำ แต่ไม่ได้เอาส้มมาตำ ทำไมเป็นมะละกอ

ส้มตำถือเป็นอาหารยอดฮิตที่เติบโตมาจากทางภาคอีสาน ซึ่งคำว่า "ส้ม" เป็นภาษาถิ่นที่หมายถึงรสเปรี้ยว ส่วน "ตำ" ก็คือการตำแบบที่เราเข้าใจ ดังนั้นคำว่าส้มตำ จึงหมายถึง การตำอาหารรสเปรี้ยว ซึ่งมะละกอดิบ ถือเป็นตัวเลือกอันดับแรกสำหรับในการหยิบมาตำให้มีรสเปรี้ยวนั่นเอง ส่วนอาหารชนิดอื่นที่เชื่อมโยงคำว่าส้มกับรสเปรี้ยวก็ได้แก่ แกงส้ม ปลาส้ม หมูส้ม และน้ำส้มสายชู

ภาพจาก www.flickr.com

5.ไข่เยี่ยวม้า แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเยี่ยวม้า

บางที่ก็อ้างอิงไปถึงตำนานเรื่องเล่าของจีน เกี่ยวกับชาวนาที่พบไข่เป็ดถูกฝังอยู่ในแกลบและฟางที่ใช้กลบมูลม้านานหลายเดือนโดยไม่เน่าเสีย แถมยังมีรสชาติดีอีกด้วยแต่ในความเป็นจริงชาวจีนก็ไม่ได้เรียกมันว่าไข่เยี่ยวม้า ส่วนคนไทยที่เรียกแบบนี้ อาจเพราะสีของไข่แดงเป็นสีขี้ม้า และมีกลิ่นของแอมโมเนียที่เหมือนฉี่เพราเหตุนี้จึงเรียกไข่นี้ว่า ไข่เยี่ยวม้า

ภาพจาก www.youtube.com

6.ทำไมเรียกพริกเกลือ ทั้งๆ ที่มีน้ำตาลเพียบ

ในสมัยก่อน เครื่องจิ้มผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวจะมีแต่พริกกะเกลือเท่านั้น ไม่ได้ใส่น้ำตาลเพราะการผลิตน้ำตาลทรายได้เกิดขึ้นมาภายหลัง และเมื่อน้ำตาลแพร่หลายมากขึ้นคนยุคใหม่ก็ติดน้ำตาล จึงมีการใส่น้ำตาลลงไปในพริกกะเกลือ เพื่อให้รสหวานเป็นตัวนำ แต่ก็ยังคงเรียกว่าพริกเกลือเหมือนเดิม

ภาพจาก th.openrice.com

7.ซีอิ๊วขาว ทำไมสีดำ

ตามปกติของการหมักถั่วเหลือง น้ำซีอิ๊วที่ได้จะเป็นสีดำ แต่น้ำซีอิ๊วขาวจะมีความใสกว่าซีอิ๊วดำ และเวลาเหยาะใส่อาหารต่างๆ จะไม่ค่อยทำให้อาหารเปลี่ยนสีไปมากนัก เหมือนกับใส่สีขาวลงไป ต่างจากซีอิ๊วดำที่ใส่ไปแล้วจะเป็นสีดำทันที


วาไรตี้

เครื่องสำอาง แม่และเด็ก คลินิก สุขภาพ สกินแคร์ แต่งหน้า ทรงผม ทำเล็บ แฟชั่น ความรัก ดูดวง วาไรตี้ ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย คติสอนใจ ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร ร้านคาเฟ่