"บีบแตร" ยังไงไม่ให้คันอื่นหัวร้อน? ไม่ก่อดราม่าบนท้องถนน บีบแตรแบบไหนหมายความว่าไง?!

อ่าน 1,808

เดี๋ยวนี้เราก็มักจะเห็นกันอยู่บ่อยกับคนหัวร้อนบนท้องถนน ไม่ว่าจะเห็นบนท้องถนน หรือ แม้แต่ข่าวในทีวี มักจะเกิดจากการกระทบกระทั่งกัน เพราะเจ้าแตรรถนี่แหละ การ "บีบแตร" ไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิดหรือเสียมารยาทอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพียงรู้จักและใช้อย่างเข้าใจในความหมายของมัน ความคิดที่ว่าการบีบแตรสร้างความน่ารำคาญแต่จะกลายเป็นการสร้างวินัยในการขับขี่ และช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับตัวเราอีกด้วยวันนี้ gangbeauty มีทริค บีบแตรให้ถูกวิธี คันอื่นจะได้ไม่หัวร้อน

ภาพจาก   pixabay

1. "ปื๊ด ปิ๊ด ปิ๊ด ปิ๊ด" เสียงแตรรถยนต์ที่บีบแบบเบาๆ สั้นๆ ต่อเนื่องหลายครั้ง

การบีบแตรรถยนต์ในลักษณะกดเบาๆ สั้นๆ ต่อเนื่อง จะเป็นเหมือนการทักทาย Say Hi กัน เช่น เราจอดรถติดไฟแดง แล้วเจอเพื่อนจอดรถติดไฟแดงอยู่ข้างเราเหมือนกัน เราจึงบีบแตรแบบสั้นๆ ต่อเนื่องเพื่อทักทายอารมณ์ประมาณว่า"เห้ยแกรรรร ฉันอยู่นี่ มองฉันสิ"

2. "ปิ๊ด" เสียงบีบแตรแบบสั้นๆ เบาๆ

เสียงบีบแตรแบบสั้นๆ เบาๆ ส่วนใหญ่จะหมายถึงการบีบเตือนรถคันอื่นระวัง หรือเตือนสิ่งมีชีวิตที่ขวางถนน

3 "ปี๊ดดดดด" เสียงบีบแตรแบบยาว และมีเสียงดัง

เสียงแตรรถยนต์แบบนี้ให้ความรู้สึกเป็นการเตือนเช่นกัน แต่จะเป็นการส่งสัญญาณเตือนแบบมีอารมณ์มากกว่าข้อ 2 อารมณ์ประมาณว่า "คุณจะหยุดรถนานอะไรนักหนา มันไฟเขียวแล้วแกรรร มัวทำอะไรอยู่ รีบไปสักทีสิ!"สาเหตุที่ต้องส่งสัญญาณบีบแตรในลักษณะนี้ก็เพื่อเตือนให้เค้ารู้ตัว เพราะบางทีเค้าอาจจะเหม่อลอย หรือลืมอยู่ก็ได้

4. "ปี๊ดดดดด ปี๊ดดดดด ปี๊ดดดดด ปี๊ดดดดด" เสียงบีบแตรแบบดังๆ ยาวๆ ต่อเนื่องกันหลายครั้ง

เสียงบีบแตรแบบดังๆ ยาวๆ ต่อเนื่องกันหลายครั้ง ถือเป็นการเตือนและบ่นบอกว่าอารมณ์เริ่มรุนแรงหัวร้อนเพิ่มมากขึ้น หากหลีกเลี่ยงได้แนะนำว่าไม่ควรทำ เพราะจะทำให้เกิดการกระทบกระทั่งได้ง่ายมาก

5. "ปี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดด" เสียงบีบแตรยาวแบบต่อเนื่อง

เป็นอาการหัวร้อนขั้นสูงสุด บ่งบอกความไม่พอใจมากๆ หรือจะเรียกง่ายๆว่าเป็นการด่าบนท้องถนนนั่นเอง ถ้าให้เปรียบเทียบก็เหมือนการตะโกนด่ากันต่อหน้าอ่ะ หากใครจะใช้สัญญาณแตรแบบนี้ ก็เตรียมเผื่อใจไว้ก่อนนิดนึงนะเพราะอาจจะมีเรื่องมีราวได้

ภาพจาก   pixabay

เทคนิคใช้แตรรถยนต์ให้ถูกวิธี

"ใช้เสียงแตรให้เหมาะสม"

และไม่ดัดแปลงเสียงแตรรถยนต์ให้ดังจนเกินไป เพราะนอกจากจะรบกวนผู้อื่นอาจจะก่อเกิดความไม่พอใจจนนำไปสู่การกระทบกระทั่งได้

"บีบแตรเมื่อผ่านโค้งหักศอก"

หรือบริเวณมุมอับที่ไม่สามารถมองเห็นรถยนต์ที่สวนทางมาได้ เพื่อเป็นการบอกรถคันที่กำลังจะสวนทางมาได้ระมัดระวังมากขึ้น

"หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น"

เช่น มีผู้บาดเจ็บ พบเห็นคนโดนชิงทรัพย์ มีก็สามารถใช้สัญญาณแตรแบบเสียงดังและลากยาวได้ เพื่อขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง

"เมื่อพบป้ายห้ามใช้แตรรถยนต์"

หรือห้ามส่งเสียงดัง เช่นในพื้นที่โรงพยาบาล ก็ควรหลีกเลี่ยงการแตรรถยนต์

"นึกถึงใจเขาใจเรา"

คือสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะขนาดตัวเราเองยังไม่ชอบให้ใครมา "บีบแตรรถเสียงดังใส่" คนอื่นเองก็คงจะไม่ชอบเช่นกัน

ภาพจาก   pixabay


วาไรตี้

เครื่องสำอาง แม่และเด็ก คลินิก สุขภาพ สกินแคร์ แต่งหน้า ทรงผม ทำเล็บ แฟชั่น ความรัก ดูดวง วาไรตี้ ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย คติสอนใจ ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร ร้านคาเฟ่