วิธีรับมือกับมันภาวะหมดไฟ ใจหมดแรงแบบไม่ดราม่าชีวิตไปมากกว่านี้

อ่าน 14,369

"ภาวะหมดไฟในการทำงาน" หรือ Burnout  กลายเป็นประเด็นที่คนพูดถึงกันมากที่สุดไปทันทีที่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกมากดปุ่ม ระบุว่าได้เพิ่มในทะเบียนเป็นโรคอุบัติใหม่ ทำให้หลายคนเริ่มตื่นตัวกับภาวะที่คุกคามความสุขของคนวัยทำงานอย่างเราๆ

อาการของภาวะหมดไฟ

- อ่อนเพลียแบบหาสาเหตุไม่ได้ หมดแรง ปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้ ปวดเมือยตามตัว

- เบื่อหน่าย ไม่อยากทำงาน รู้สึกไม่มีความสุขเวลาทำงาน

- ไม่สุงสิงกับใคร ปฏิสัมพันธ์กับคนรอบตัว ครอบครัว เพื่อนร่วมงานน้อยลง

แล้วถ้าวันหนึ่งตัวคุณเองโดนเจ้าภาวะนี้เล่นงาน จะปุ๊บปั๊บเดินไปบอกหัวหน้าขอลาออกดื้อๆ ก็คงจะเป็นไปได้ยาก  ต่อให้ไฟคุณมอดไหม้จนไม่เหลืออะไร แต่ยังมีภาระความรับผิดชอบ ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าเทอมลูก หรือแม้แต่ทริปเที่ยวรอบโลกที่ยังรั้งให้คุณไม่ด่วนตัดสินใจลาออกจากงานกันง่ายๆ

คำถามคือ แล้วจะดีลยังไงกับภาวะหมดไฟ ใจหมดแรง ในขณะที่งานก็ต้องทำ ใจก็ดราม่าไปด้วย อันดับแซ่บมีเทคนิคดีลกับเรื่องนี้ให้ชีวิตง่ายขึ้น อาจจะไมได้ทำให้คุณหายขาดจากภาวะหมดไฟได้ทันที แต่อย่างน้อยก็ช่วยให้ทุเลาเบาบางขึ้น มีแรงพอที่จะรับมือกับมันได้แบบไม่ดราม่าชีวิตไปมากกว่านี้

เรื่องดราม่าในชีวิต

เริ่มกันที่ต้นตอของปัญหา   เรื่องหนักๆ ที่มักทำให้คนวัยทำงานหมดไฟ หมดใจในการทำงานกันง่ายๆ มีอยู่ไม่กี่เรื่อง

ตัวงานที่เนื้องานอาจจะยากเกินความสามารถ ทำงานที่ไม่ชอบ  ทำให้เกิดความท้อแท้ ไม่อยากทำ

ตัวคน เรื่องของคนเป็นตัวการสำคัญอย่างหนึ่งที่มักจะทำให้คนเราหมด หัวหน้า ลูกน้อง ขาดการใส่ใจจากองค์กร

ตัวเอง ทำงานหนักจนไม่ได้มีเวลาพักผ่อน ต้องรับภาระหนักเพียงลำพัง (ต้องดูแลพ่อแม่ลำพัง, แม่เลี้ยงเดี่ยว, พ่อเลี้ยงเดี่ยว) หรือมีปัญหาส่วนตัว (หนี้สิน, สุขภาพ, ชีวิตคู่) รุมเร้า

จะรับมือกับอาการหมดไฟอย่างไร ถ้าคุณยังต้องทำงานอยู่

เมื่อถึงไคลแมกซ์ของเรื่องกันแล้ว จะรับมืออย่างไร เมื่อภาวะหมดไฟรุมเร้าจนคุณหมดไฟที่จะทำงาน หมดใจกับงานที่ทำ

1.หมดไฟเพราะตัวงาน แก้ด้วย...เติมเชื้อไฟให้อยากตื่นไปทำงาน

ก่อนอื่นต้องเติมเชื้อเพลิงให้เราอยากตื่นไปทำงาน ท่องไว้เลยว่า งานคือเงิน เงินคืองาน จากนั้นก็เริ่มปรับทัศนคติที่มีต่องาน หยุดมองว่า งานคืองาน  แล้วลองหันกลับไปมองว่า งานที่ได้รับมอบหมาย มันมีประโยชน์กับตัวเอง แล้วมันเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างไร

2.หมดไฟเพราะตัวคน แก้ด้วย...ลองนั่งในใจเขาบ้าง

มีไม่น้อยที่ภาวะหมดไฟทำงาน เกิดมาจากปัญหากับคนในองค์กร เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน คู่ค้า หรือลูกค้า บางการกระทำของคนอื่นอาจไม่ถูกใจคุณไปบ้าง และมักจะทำให้คุณไม่เข้าใจว่า ทำไปได้ยังไง ถ้าเป็นคุณจะไม่มีวันทำเด็ดขาด ที่นี้ เราอยากให้คุณลองวางความคิดตัวเองลง แล้วลองมองมาจากมุมของอีกฝ่ายดู คุณจะพบเหตุผลหรือที่มาของการกระทำนั้นในสถานการณ์ของอีกฝ่ายที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

3. หมดไฟเพราะตัวเอง แก้ด้วย...เปลี่ยนแปลงตัวเอง

ฝึกที่จะเปลี่ยนตัวเอง ยอมรับการเปลี่ยนแปลงทั้งทางดีและทางแย่ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ให้เป็นนิสัย หาเวลาพักให้สมอง ร่างกาย จิตใจได้ผ่อนคลายจากความเครียดบ้าง หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ๆ คนที่เป็น toxic พยายามอยู่กับคนที่มีความหมายกับคุณ เช่น ครอบครัว เพื่อนฝูง

รู้จักกำหนดกรอบเวลาการทำงานที่ชัดเจน ไม่ว่างานจะเสร็จหรือไม่ก็ตามเมื่อถึงเวลาที่เรากำหนดเอาไว้ ให้พักเรื่องานเอาไว้ก่อน แล้ววันต่อมาค่อยกลับมาทำต่อ การนั่งหลังคดหลังแข็งอยู่จนดึกก็ไม่ได้หมายความว่างานที่ออกมาจะดี มีคุณภาพ แพราะคุณล้าไปหมดแล้ว ทำให้ประสิทธิภาพย่อมลดลง

เป็นอย่างไรบ้างสำหรับวิธีรับมือกับภาวะ หมดไฟ หมดใจ เวอร์ชั่นคนที่ยังไม่พร้อมจะลาออกจากงาน หวังว่าพอจะเป็นแนวทางในการรับมือกับภาวะเจ็บป่วยทางใจอย่างภาวะเบิร์นเอ้าท์หรือหมดไฟทำงาน ตามที่ถูกระบุว่าเป็นโรคใหม่สำหรับวัยทำงาน อาจจะเป็นโจทย์ที่แก้ยากพอสมควร แต่เชื่อเถอะว่าถ้ามีความตั้งใจ ความพยายามที่จะหลุดพ้นจากภาวะหมดไฟ ไม่ว่าใครก็สามารถทำได้


วาไรตี้

เครื่องสำอาง แม่และเด็ก คลินิก สุขภาพ สกินแคร์ แต่งหน้า ทรงผม ทำเล็บ แฟชั่น ความรัก ดูดวง วาไรตี้ ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย คติสอนใจ ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร ร้านคาเฟ่