ต้องระวัง!! นั่งส้วมนาน เสี่ยงเป็นสีดวงทวาร!!

อ่าน 5,662

แทบจะเป็นกันทุกคนสำคุณสาวๆที่ชอบเข้าห้องน้ำนานๆไม่ว่าจะถ่ายหนัก ถ่ายเบา คุณๆเอาโทรศัทพ์ไปหนักเล่นได้ตลออด แต่คุณสาวๆรู้หรือไม่ ว่าการนั่งในห้องน้ำนานๆเสี่ยงเป็นโรคสีดวงทวารได้นะ! ไปดูกันเลยว่าเพราะอะไร....

โรคริดสีดวงทวารเป็นโรคที่พบบ่อย พบในมนุษย์ที่ต้องยืน-นั่งนาน เกิดเลือดคั่ง เลือดดำและเลือดแดงมีการเชื่อมต่อกันและมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เป็นไปตามกลไกของธรรมชาติในร่างกาย ให้เลือดได้ไหลเวียนเข้าถึงกัน รูทวารบริเวณทวารหนักจะอ่อนนุ่ม ทำให้อุจจาระง่ายผ่านสะดวกรอยเชื่อมต่อของเลือดดำและแดงนี้จะมีทั้งภายในและภายนอกของบริเวณก้น หากมีการอักเสบ บวม เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เส้นเลือดบริเวณนั้นจะโป่งขยายให้เราได้เห็นชัดเจน

ริดสีดวงทวารอักเสบ เกิดจากการไหลเวียนของเลือดบริเวณก้นไม่สะดวก จะพบบ่อยในผู้ที่ท้องผูกบ่อย เข้าส้วมนาน ต้องเบ่งนาน เบ่งแต่ละครั้งทำให้เลือดไปคั่งค้างบริเวณก้น เลือดที่เคยไหลเวียนสะดวกดี กลับขังตัวนาน อาจทำให้เกิดแข็งตัว คั่งค้างอยู่ (Thrombosis) ก่อให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อบริเวณนั้นตามมา ริดสีดวงที่บวม อักเสบ อาจโตบวมรัดกับหูรูดทวารหนัก เลือดผ่านไปเลี้ยงไม่สะดวกจนขาดเลือด (Strangulation) การอักเสบทั้ง 2 แบบ ทำให้อุจจาระถ่ายลำบากมาก

[อาการของริดสีดวงทวาร]

อาการของโรคริดสีดวงภายนอก

คือ มีติ่งเนื้อสีชมพูคล้ำออกมาจากปากทวารหนักเมื่อมีอาการท้องผูกหรือท้องเสีย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวด บวม เจ็บ และระคายเคือง (ถ้าไม่เกิดลิ่มเลือดอุดตัน ก็อาจจะไม่ก่อปัญหาอะไรมากนัก)

หากมีลิ่มเลือดเกิดขึ้นในหลอดเลือดที่โป่งพองจะก่อให้เกิดอาการปวด บวม เจ็บมากขึ้น (แต่มักจะไม่ค่อยพบว่ามีเลือดออกจากติ่งเนื้อนี้) ซึ่งปกติแล้วจะหายเจ็บได้ภายใน 2-3 วัน อย่างไรก็ตาม กว่าจะหายบวมอาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ เมื่อหายดีแล้วอาจจะยังมีผิวหนังเป็นติ่งเหลืออยู่ และหากหัวริดสีดวงมีขนาดใหญ่ก็อาจทำให้เกิดการระคายเคืองหรือคันบริเวณรอบปากทวารหนักได้ด้วย

อาการของโรคริดสีดวงภายใน

คือ - ส่วนมากจะมีอาการเลือดออกทางทวารหนัก โดยไม่รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใด ซึ่งจะเกิดขึ้นในระหว่างหรือหลังจากถ่ายอุจจาระเสร็จ เลือดที่ออกมานั้นจะมีลักษณะเป็นเลือดสีแดงสด ออกปนมากับอุจจาระ หรือมีเลือดไหลหยดลงในโถส้วม และอาจสังเกตว่ามีเลือดเปื้อนบนกระดาษชำระ (เลือดจะออกมาในลักษณะอาบก้อนอุจจาระ ส่วนตัวก้อนอุจจาระยังเป็นสีของมันตามปกติ ไม่มีมูกปน และเลือดมักจะหยุดไหลได้เอง) ซึ่งอาการเหล่านี้จะมีลักษณะเป็นๆ หายๆ ถ้ามีเลือดออกมากหรือเป็นเรื้อรัง อาจทำให้เกิดอาการซีดตามมาได้

- ในรายที่เป็นมาก หลอดเลือดจะบวมมาก ทำให้หัวริดสีดวงโผล่ออกมานอกปากทวารหนัก หรือเห็นเป็นก้อนเนื้อนิ่มๆ ปลิ้นโผล่ออกมา ซึ่งในภาวะเช่นนี้จะก่อให้เกิดอาการปวดหรือเจ็บที่ทวารหนักได้ (ถ้าเกิดลิ่มเลือดอุดตันขึ้น ริดสีดวงกลายเป็นก้อนแข็ง หรือเกิดภาวะเซลล์ตายจะทำให้มีอาการเจ็บปวดได้) และอาจจะทำให้เกิดอาการคันและอาการกลั้นอุจจาระไม่อยู่ได้ด้วยเช่นกัน

[วิธีป้องกันโรคริดสีดวงทวาร]

1. ทางที่ดีที่สุดในการป้องกันคือ ทำให้อุจจาระไม่แข็งและผ่านไปได้โดยง่าย ด้วยการรับประทานผักและผลไม้ที่มีกากใยสูงๆ ให้มากๆ ระวังอย่าให้ท้องผูก

2. ดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เพื่อช่วยให้อุจจาระอ่อนนุ่มและขับถ่ายออกได้ง่าย

3. ฝึกเข้าห้องน้ำให้เป็นเวลา ไม่กลั้นอุจจาระ (ขับถ่ายโดยไวเมื่อรู้สึกปวดอุจจาระ)

4. หลีกเลี่ยงการนั่งเบ่งถ่ายอุจจาระเป็นเวลานานๆ (ให้ใช้เวลาให้น้อยที่สุดในขณะเบ่งถ่าย และหลีกเลี่ยงการเล่นโทรศัพท์มือถือและอ่านหนังสือในขณะขับถ่าย)

5. ระวังอย่าให้เกิดอาการท้องร่วง ท้องเดิน หรือท้องเสียบ่อยๆ

6. ในผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก (อ้วน) ควรหาวิธีลดความอ้วนอย่างเหมาะสม และหลีกเลี่ยงการยกของหนัก

7. ออกกำลังกายให้เพียงพอ พยายามเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ เช่น การเดิน

วาไรตี้

เครื่องสำอาง แม่และเด็ก คลินิก สุขภาพ สกินแคร์ แต่งหน้า ทรงผม ทำเล็บ แฟชั่น ความรัก ดูดวง วาไรตี้ ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย คติสอนใจ ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร ร้านคาเฟ่