ประวัติของ "ยาคูลท์" และการทำงานของ "ยาคูลท์" ต่อร่างกาย !!!

อ่าน 8,920

ยาคูลท์มีสัญชาติญี่ปุ่นเต็มตัว เมื่อปี คศ.1930 มีผู้คิดค้นและทำวิจัยพัฒนายาคูลท์ขึ้นเป็นครั้งแรกคือ ดร.มิโนรุ ชิโรตะ (คศ.1899-1982) จากคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยเกียวโตประเทศญี่ปุ่น เหตุผลของการทำยาคูลท์คือในช่วงเวลานั้น ชาวญี่ปุ่นประสบกับปัญหาเกี่ยวกับโรคที่เกี่ยวกับระบบย่อยอาหารเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เนื่องจากขาดสารอาหาร การสาธารณะสุขและสภาพเศรษกิจ และในระหว่างปี คศ. 1930-1935 ดร.ชิโรตะสามารถจำแนกแยกแบคทีเรียจากลำไส้คนได้ถึง 300 ชนิด

เป้าหมายหลักคือจำแนกแบคทีเรียที่สามารถอยู่รอดปลอดภัยจากการเดินทาง ของมันผ่านช่องท้องและน้ำดีที่มีฤทธิ์เป็นกรด ไปสู่ลำไส้เล็กที่ๆมันสามารถทำงานได้ในระบบย่อย แบคทีเรียแต่ละชนิดถูกทดสอบความทนทานต่อกรดและน้ำดี และแบคทีเรียตัวที่หนังเหนียวที่สุดก็คือ Lactobacillus casei และถูกตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่เขาว่าShirota strain

ยาคูลท์ถูกผลิตในห้องแลบของดอกเตอร์ชิโรตะและแจกจ่ายสู่ผู้ป่วยและผู้ที่ ต้องการในเกียวโต จนกระทั่งในปี 1935-1955 ยาคูลท์ถูกผลิตเพื่อขายทั่วทั้งญี่ปุ่นโดยผู้จำหน่ายอิสระ ใน ปี1955 ดร. ชิโรตะ ก่อตั้งบริษัท Yakult Honsha เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งทางธุรกิจ และควบคุมผู้จำหน่ายตั้งแต่นั้นมากลุ่มบริษัทยาคูลท์ได้ขยายตลาดสู่สากล กว่า 200 บริษัทใน 17 ประเทศ ในขณะเดียวกัน บริษัทแม่ Yakult Honsha ก็มีส่วนเกี่ยวของกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนนผสมของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ หลายชนิด จนกระทั้งปี 1967 สถาบันวิจัยที่มีชื่อว่า Yakult Central Institute for Microbiological Research ก็ถูกก่อตั้งขึ้นในโตเกียว

การทำงานของยาคูลท์

หลังจากทานยาคูลท์ ลำไส้เล็กจะบีบขย้ำกดและแปลงอาหารที่เรากินเข้าไปให้เป็นสารที่เป็นประโยชน์ เพื่อรอการดูดซึมแต่ในขณะเดียวกันก็จะมีสารที่เป็นโทษหลุดรอดออกมาด้วย เมื่อร่างกายก่อเกิดความสมดุลของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ ระบบย่อยอาหารของเราก็จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

แต่ถ้าสมดุลเสียไป สารพิษและสารอันตราย อาจถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้โดยง่าย ดังนั้นแลคโตบาสิลัสก็เลยคิดใหม่ทำใหม่ เข้ามาแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการปรับสมดุลของลำไส้ ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของช่องท้องให้ สม่ำเสมอ ลดสารที่จะก่อให้เกิดความเสียหายที่ถูกผลิตโดยแบคทีเรียฝ่ายค้าน ฝ่ายย่อย สลาย

รักษาอาการท้องเสีย โรคบิดด้วยยาคูลท์

ถ้าท้องผูก เพราะพฤติการการทานอาหาร  ช่วงแรกๆที่ทานยาคูลท์ อาจไม่เห็นผล แต่ให้ทานทุกวันต่อเนื่อง เพื่อให้จุลินทรีย์ไปปรับสภาพในลำใส้จะดีขึ้น

สำหรับคนที่มีอาการท้องเสีย หลังการทานอาหารพวกส้มตำ ให้ทานยาคูลท์ตาม 2 ขวด รับรองเห็นผล ถ้าเป็นบิด ก็ให้ทานสัก 5 ขวด และหากลามไปถึง อหิวา ก็ให้ทานมากขึ้นตามลำดับ แต่ยังไม่หยุดถ่าย หรือ ถ่ายเป็นน้ำเป็นปี๊ปๆ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เพราะยาคูลท์คงช่วยท่านไม่ได้แล้ว

วิธีการเก็บรักษาจุลินทรีย์ในยาคูลท์

1 ขวดเก็บได้ 7 วัน ถ้าเกินจากนี้ให้เก็บในตู้เย็นจะอยู่ได้อีก 21 วัน ถ้าเก็บที่อุณหภูมิ 10 องศา จุลินทรีย์จะหลับ แล้วช่วงที่เราเอาออกมาดื่ม ณ อุณหภูมิห้อง 37-38 องศา มันจะตื่นก็พร้อมจะทำงานให้ร่างกายเราทันที

ถ้าตู้เก็บความเย็นไม่พอ หรือวางทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง จุลินทรีย์อาจมีปริมาณมากกว่าที่ระบุไว้ข้างขวด เพราะมันเติบโตขยายพันธุ์ไปเรื่อยๆ แต่ตัวพ่อตัวแม่จะเริ่มอ่อนแอลง เพราะออกลูกออกหลานจนเหนื่อย ฉะนั้นให้รีบๆ กินซะ

แต่ถ้าคุณปล่อยให้ยาคูลท์ตากแดด จุลินทรีย์จะตาย ยังกินได้อยู่นะ แต่ก็ไม่มีประโยชน์แล้ว

ภาพปกประกอบจาก : pinterest.com


วาไรตี้

เครื่องสำอาง แม่และเด็ก คลินิก สุขภาพ สกินแคร์ แต่งหน้า ทรงผม ทำเล็บ แฟชั่น ความรัก ดูดวง วาไรตี้ ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย คติสอนใจ ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร ร้านคาเฟ่