ทำความเข้าใจโรคซึมเศร้า ต้องอาศัยการบำบัดรักษาทางจิตเวช

อ่าน 13,429

ถ้าถามว่าสาเหตุการตายอันดับต้นๆ มาจากอะไรบ้าง หลายคนคงนึกถึง โรคหัวใจ มะเร็ง สมอง รวมถึงอุบัติเหตุ จะมีกี่คนนึกถึงโรคซึมเศร้า และการฆ่าตัวตาย... โรคซึมเศร้า คือ ความเจ็บป่วยทางจิตเวช ซึ่งเกิดความผิดปกติของสมอง ส่งผลกระทบต่อความนึกคิดอารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม รวมถึงสุขภาพร่างกาย คนส่วนใหญ่มักคิดว่าโรคซึมเศร้าหายเองได้ แต่ความจริงต้องอาศัยการบำบัดรักษาทางจิตเวชอย่างจริงจัง

โรคซึมเศร้า ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย

อาการของ โรคซึมเศร้า

"โรคซึมเศร้าส่งผลร้ายต่อตนเองและครอบครัว ดังนั้น หากสงสัยว่าคุณหรือคนใกล้ตัวป่วยเป็นโรคนี้ ให้รีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการบำบัดรักษาอย่างถูกต้อง" โรคซึมเศร้าต้องไปให้หมอวินิจฉัย ต้องรักษาโดยหมอ เพราะไม่สามารถหายเองได้

โรคซึมเศร้ามีแบบไหนบ้าง?

1. โรคซึมเศร้าทั่วไป แสดงอาการเบื่อ ท้อแท้ และเศร้าสลดอย่างมากนานเกิน 2 สัปดาห์

สาเหตุ : มีเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง การสูญเสีย หรือผิดหวัง ความเครียดสะสมยาวนาน อาจมีอาการทางจิต เช่น หวาดระแวง และหูแว่ว การเปลี่ยนแปลงตามวัยโดยเฉพาะผู้สูงอายุ มักมีอาการขี้บ่นจุกจิก

2. โรคซึมเศร้าเรื้องรัง รุนแรงน้อยกว่ากรณีแรก แต่เป็นต่อเนื่องนานอย่างน้อย 2 ปี และมักนานกว่า 5 ปี

สาเหตุ : ทุกข์ใจมายาวนาน แม้จัดการได้ระดับหนึ่ง แต่ผู้ป่วยจะรู้สึกไม่มีความสุขมาเป็นเวลาหลายปี ลงเอยด้วยการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าแบบชัดเจน

3. โรคซึมเศร้าแบบไบโพลาร์ดิสออเดอร์ มีอารมณ์เซ็ง ซึมเศร้า สลับกับร่าเริงผิดปกติ (mania) ในหนึ่งปีอาจมีอาการนี้หลายครั้ง มีผลต่อการตัดสินใจ เช่น ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายหรือตัดสินใจผิดๆ และอาจคิดฆ่าตัวตาย

อาการของ โรคซึมเศร้า ในวัยรุ่นที่ชัดเจน

- หมกมุ่นเรื่องความตาย เช่น กลอนหรือภาพวาดที่บ่งบอกถึงความตาย

- มีพฤติกรรมอาชญกรรม เช่น การขโมยของในร้าน

- มีการแยกตัวออกจากครอบครัวและเพื่อน

- อ่อนไหวต่อการวิพากย์วิจารณ์

- ผลการเรียนแย่ลงหรือขาดเรียน

- พฤติกรรมเสี่ยง เช่น การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยและการขับรถโดยประมาท

- การดื่มแอลกอฮอล์หรือการใช้สารเสพติด

- มีพฤติกรรมที่ไม่สมเหตุสมผลหรือแปลกประหลาดไปจากเดิม

- มีการเปลี่ยนแปลงของลักษณะนิสัยหรือการแต่งตัวภายนอกอย่างสิ้นเชิง

- ทิ้งข้าวของของตัวเอง

อาการเด่นของโรคซึมเศร้า

หมดความสนใจในกิจกรรมประจำวัน ไม่ยินดียินร้ายกับสิ่งที่เคยทำอย่างสนุกสนาน และมีอารมณ์เซ็ง เศร้า หมดที่พึ่ง หมดหวัง อยู่ดีๆ ก็อยากร้องไห้

ระวัง!! หากคุณมีอาการแบบนี้ติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์

- นอนมากเกินไป หรือน้อยไม่หลับ ตื่นเช้าผิดปกติหงุดหงิดกังวล

- น้ำหนักลดหรือเพิ่ม กว่าร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัวปกติ

- หงุดหงิด โมโหง่าย ขี้รำคาญ หรือทำอะไรช้าลง

- อ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีพลังในการทำงาน ดูเหมือนคนเกียจคร้าน

- ขาดความมั่นใจในตนเอง

- คิดถึงแต่เรื่องตาย หรือมีความคิดทำร้ายตนเองแวบขึ้นมาอยู่บ่อยๆ

- ขาดสมาธิในการคิด จนตัดสินใจหรือจำอะไรไม่ได้ มักบ่นว่ามีปัญหาเรื่องความจำ

- สูญเสียความรู้สึกทางเพศ ทั้งๆ ที่ไม่เคยมีปัญหานี้มาก่อน

มาลดความเครียดกันเถอะ

1. ออกกำลังกาย

2. ไปเที่ยวสถานที่ใหม่ๆ ช่วยให้เพลินจนลืมความกังวลได้

3. ฟังเพลงเนื้อหาดีๆ ปลดปล่อยความกังวล


วาไรตี้

เครื่องสำอาง แม่และเด็ก คลินิก สุขภาพ สกินแคร์ แต่งหน้า ทรงผม ทำเล็บ แฟชั่น ความรัก ดูดวง วาไรตี้ ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย คติสอนใจ ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร ร้านคาเฟ่