การงีบหลับกี่นาที มีผลต่อสมองยังไงบ้างมาดูกัน!

อ่าน 12,271

เคยมั้ย คิดงานยังไงก็คิดไม่ออก หัวมันตื้อมันตันไปหมด! ลุกไปข้างนอกก็แล้ว พักเล่นเกมก็แล้ว ก็ยังคิดไม่ได้อยู่ดี ถ้าใครทำทุกวิธีแล้วยังไม่เวิร์ก ลองแอบไปงีบดูสิ แต่ก็ต้องมีศิลปะในการงีบกันหน่อยนะ เพราะถ้างีบผิดเวลาก็อาจจะทำให้ยิ่งพังหนักกว่าเดิมก็ได้ ไปดูิธี งีบแบบไหน ให้สมองแล่น? กันได้เลยจ้า

งีบกี่นาที มีผลต่อร่างกายยังไงบ้าง?

10-20 นาที

งีบเพิ่มพลังงาน และความสดชื่น เพราะระยะเวลา 10-20 นาที จะทำให้การนอนของเราอยู่ในช่วง non-rapid eye movement (NREM) ซึ่งจะทำให้ร่างกายสดชื่น ตื่นมาแล้วจะไม่สะลึมสะลือ เป็นการงีบเพื่อเพิ่มพลังงาน เหมาะกับคนที่ต้องการตวามแอคทีฟ หรือคนที่ต้องการจะใช้แรงกายมากกว่าใช้สมอง หรือลุกขึ้นมาทำโน่นทำนี่ได้อย่างคล่องแคล่ว เรียกการงีบแบบนี้ว่า "power nap"

30 นาที

สำหรับการนอนครึ่งชั่วโมง จะไม่แนะนำเท่าไหร่นัก เพราะไม่เป็นผลดีต่อร่างกายของเรา ไม่ได้ช่วยให้หายง่วง หรือสดชื่นขึ้นแต่อย่างใด จากการวิจัยพบว่า หลังจากตื่นขึ้นมา จะมีอาการอึนๆ มึนงง และยังง่วงๆ อยู่ หรือบางทีอาจปวดหัว และกว่าอาการนี้จะหายไปก็ต้องรอไปอีกครึ่งชั่วโมง

60 นาที

การนอนประมาณ 1 ชั่วโมง จะส่งผลดีต่อสมองของเรา ทำให้ความจำดีขึ้น เพราะเป็นการนอนที่ทำให้เราอยู่ในช่วง "slow-wave sleep" เป็นช่วงที่เราจะหลับลึกที่สุด แต่ก็จะตื่นขึ้นมาแบบงงๆ เบลอๆ สักพัก แต่หลังจากนั้น สมองก็จะจดจำสิ่งต่างๆ ได้ดีมากยิ่งขึ้น เหมาะกับคนที่จะโต้รุ่งอ่านหนังสือในคืนก่อนสอบ

90 นาที

ในระยะเวลา 90 นาที จะเป็นการนอนที่ครบ 1 รอบพอดี นั่นหมายถึง ในเวลา 90 นาทีนี้ จะมีทั้ง หลับลึก และหลับแบบสบายๆ รวมทั้ง REM stage (Rapid Eye movement) ซึ่งเป็นระยะที่คนเรามักจะฝัน การนอนในระยะเวลานี้ทำให้สมองได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ทำให้อารมณ์ดีขึ้น หัวแล่น สมองปลอดโปร่ง และที่สำคัญคือช่วยให้ความจำดีขึ้น แถมพอตื่นขึ้นมาก็จะสดชื่น ไม่มีอาการงัวเงียให้เห็นอีกด้วยนะ


วาไรตี้

เครื่องสำอาง แม่และเด็ก คลินิก สุขภาพ สกินแคร์ แต่งหน้า ทรงผม ทำเล็บ แฟชั่น ความรัก ดูดวง วาไรตี้ ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย คติสอนใจ ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร ร้านคาเฟ่